วิธีซ่อมหลังคารั่วด้วยตัวเอง ไม่ให้กลับมารั่วซ้ำ
หลังคารั่วซึม ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ คน ซึ่งบางคนอาจจะทำการซ่อมไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็กลับมารั่วอีกครั้ง หรือบางคนอาจจะคิดว่าเป็นรอยรั่วแค่เล็กน้อย ไม่ต้องทำการซ่อมแซมก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
ดังนั้น ในบทความนี้จะพาไปดูกันว่า 3 วิธีซ่อมหลังคารั่วง่ายๆ ด้วยตัวเอง สามารถทำอย่างไรได้บ้าง และหากคุณปล่อยปัญหานี้ไว้ไม่ทำการซ่อมแซมจะเกิดอะไรขึ้น เอาเป็นว่าทุกคำถามคุณจะได้รับคำตอบในบทความนี้!
ซ่อมหลังคารั่วแบบง่ายๆ ด้วยเทปบิทูเมนกันรั่วซึม
ทำไมต้องซ่อมหลังคารั่วด้วยเทปบิทูเมน? เพราะเทปกาวประเภทนี้เป็นเทปกาวสำเร็จรูปอเนกประสงค์ที่ผลิตมาจากบิทูเมนดัดแปลง พร้อมกับเคลือบด้วยพลาสติก HDPE และมีความหนามากถึง 1.50 มิลลิเมตร นอกจากนั้น ยังมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อทุกสภาวะอากาศ แถมยังสามารถใช้งานได้ง่าย และใช้ได้ดีในสภาพอุณหภูมิตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียสไปจนถึง 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็มกันรั่วซึม
ซ่อมงานหลังคารั่วง่ายๆ ด้วยแผ่นแปะ TOA สมาร์ท เทปซีล-บีเอ็ม เป็นเทปบิทูเมนที่แก้ปัญหาหลังคารั่วซึมแบบอเนกประสงค์ เนื้อเทปมีความเหนียว สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ 100% และยึดเกาะได้อย่างดีเยี่ยม ไม่กรอบแตกง่าย ทนทานต่อสภาพอากาศและรังสี UV เหมาะสำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าวและรอยรั่วซึมในจุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เช่น กระเบื้องหลังคา ดาดฟ้า รางน้ำฝน หรือรอยต่อระเบียง เป็นต้น
วิธีซ่อมหลังคารั่ว ด้วย TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็มกันรั่วซึม
- เริ่มจากการเตรียมพื้นผิว ด้วยการทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่ต้องการติดเทป TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็ม ให้สะอาด ปราศจากฝุ่น เศษปูน คราบไขหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ และในบริเวณนั้นต้องแห้งสนิท
- ตัดเทป TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็ม ตามความยาวของรอยแตกร้าว หรือรอยรั่วที่ต้องการปิดทับ
- ลอกฟิล์มออกจากด้านที่มีเนื้อกาว ก่อนจะวางและกดเทป TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็ม ลงบนรอยแตกร้าว หรือรอยรั่วที่ต้องการปิดทับ
ซ่อมหลังคารั่วแบบจัดเต็ม เหมือนมืออาชีพ
การซ่อมหลังคารั่วด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์กันซึม เป็นอีกทางเลือกของการซ่อมหลังคาหรือดาดฟ้ารั่วซึมแบบมืออาชีพ ที่จะช่วยให้ปัญหาหลังคารั่วซึมที่ทุกคนกำลังพบนั้นหมดไปอย่างถาวร โดยผลิตภัณฑ์กันซึมที่แนะนำ และขั้นตอนการซ่อมหลังคาหรือดาดฟ้าแบบจัดเต็ม มีดังนี้
TOA 201 รูฟซีล พียู ไฮบริด
TOA 201 รูฟซีล พียู ไฮบริด เป็นโพลียูรีเทนผสมอะคริลิกที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ โดยมีความยืดหยุ่นสูงถึง 680% และทนทานนานกว่า 7 ปี สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ 100% ใช้ได้กับพื้นผิวหลายประเภท เช่น ดาดฟ้าคอนกรีต กระเบื้องลอนคู่ ผนังที่มีรอยร้าว กระเบื้องโมเนีย รางน้ำคอนกรีต และเมทัลชีท นอกจากนี้ยังมีให้เลือกถึง 6 เฉดสี ได้แก่ สีเทา, เทาเข้ม, ขาว, เขียว, น้ำตาล และน้ำเงิน
TOA รูฟซีล ซันบล็อก
TOA รูฟซีล ซันบล็อก เป็นสีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาที่พัฒนาขึ้นด้วยส่วนผสมพิเศษอย่างสาร SRP (Solar Reflective Pigment) และผงเซรามิก (Insulating Microsphere Ceramic) ที่สามารถสะท้อนความร้อนได้มากกว่า 95% พร้อมทั้งป้องกันน้ำรั่วซึมด้วยระบบไร้รอยต่อ 100% ที่มีความยืดหยุ่นสูงถึง 680% มีให้เลือกทั้งหมด 4 เฉดสี ได้แก่ สีขาว, สีครีม, สีเทา, และสีเขียว
TOA พียู วอเตอร์พรูฟ
TOA พียู วอเตอร์พรูฟ เป็นสีทากันซึมคุณภาพสูงจาก TOA ที่ใช้วัสดุกันรั่วซึมชนิดโพลียูรีเทนสูตรน้ำสำเร็จรูป ใช้งานง่ายและสามารถทนน้ำขังได้นานกว่า 100 วันตามการทดสอบจากห้องปฏิบัติการของ TOA นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นสูงถึง 800% และมีให้เลือก 2 เฉดสี คือ สีเทา และสีขาว
TOA ไฟเบอร์ เมช
TOA ไฟเบอร์ เมช เป็นแผ่นตาข่ายไฟเบอร์กลาสเคลือบอะคริลิกคุณภาพสูง โดยใช้สำหรับเสริมความแข็งแรงให้กับผลิตภัณฑ์กันรั่วซึมทุกประเภท เช่น TOA 201 รูฟซีล พียู ไฮบริด, TOA รูฟซีล ซันบล็อก หรือ TOA พียู วอเตอร์พรูฟ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการแตกร้าว ป้องกันการขยายตัวเพิ่มเติมของรอยแตก และช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุกันซึมได้เป็นอย่างดี
วิธีซ่อมหลังคารั่ว แบบมืออาชีพ
- เตรียมพื้นผิว และทำความสะอาดด้วยการขูดหรือแซะวัสดุกันซึม หรือพื้นผิวเดิมที่เสื่อมสภาพออกก่อน
- หลังจากนั้นให้ล้างทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เพื่อขจัดคราบดำ ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ออกไปให้หมด และทิ้งพื้นผิวเอาไว้ให้แห้งอย่างน้อย 1-2 วัน
- เมื่อพื้นผิวแห้งแล้ว ให้ทำการลงน้ำยา TOA 113 ไมโครคิล (น้ำยาฆ่าเชื้อรา) แบบไม่ต้องผสมน้ำ ในบริเวณพื้นผิวทั้งหมด หรือเฉพาะบริเวณที่เกิดเชื้อราและตะไคร่น้ำ เพื่อฆ่าเชื้อราออกให้หมด และทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องล้างออก
- หลังจากนั้นให้ขยายรอยแตกร้าวให้เป็นรูปตัว V ด้วยการเจียร โดยเจียรให้รอยลึกกว่าเดิม เพื่อให้การอุดโป๊วแน่นขึ้น พร้อมกับทำความสะอาดฝุ่นผง และสิ่งสกปรกต่างๆ ออกให้หมด
- อุดโป๊วร่องที่ได้ทำการเจียรไว้ด้วย ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ (TOA PU Sealant) และทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง จนแห้งสนิท
- หลังจากนั้นให้ทำการทาอะคริลิกกันซึม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันซึมได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น TOA 201 รูฟซีล พียู ไฮบริด และ TOA รูฟซีล ซันบล็อก ซึ่งจะทาทั้งหมด 3 รอบ ได้แก่ รองพื้น 1 รอบ และทาทับหน้า 2 รอบ หรือ TOA พียู วอเตอร์พรูฟ ซึ่งจะทาทั้งหมด 4 รอบ ได้แก่ รองพื้น 1 รอบ และทาทับหน้า 3 รอบ
- การทากันซึมในชั้นรองพื้นนั้น ให้ทำการผสมผลิตภัณฑ์กันซึมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 3 : 1 เพื่อเสริมการยึดเกาะกับพื้นผิวมากยิ่งขึ้น โดยทาให้ทั่วทั้งพื้นที่ และทายกขอบผนังประมาณ 10 เซนติเมตร
- หลังจากทาผลิตภัณฑ์กันซึมรองพื้น 1 รอบ และทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- เมื่อชั้นรองพื้นแห้งแล้ว ให้ทำการปูเสริมด้วยตาข่าย TOA ไฟเบอร์ เมช ในบริเวณขอบมุม รอยต่อโครงสร้าง หรือรอยแตกร้าว และทาผลิตภัณฑ์กันซึมโดยไม่ต้องผสมน้ำตามจำนวนรอบดังนี้
- ผลิตภัณฑ์กันซึม TOA 201 รูฟซีล พียู ไฮบริด และ TOA รูฟซีล ซันบล็อก ให้ทาทับหน้าตาข่ายและรีดให้เรียบ 1 รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง 2-4 ชั่วโมงและทาทับอีก 1 รอบเมื่อรวมชั้นรองพื้นจะเป็นทั้งหมด 3 รอบ
- TOA พียู วอเตอร์พรูฟ ให้ทาทับหน้าตาข่ายและรีดให้เรียบ 1 รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง 2-4 ชั่วโมงและทาทับอีก 2 รอบโดยแต่ละรอบจะต้องทิ้งไว้ให้แห้ง 2-4 ชั่วโมงก่อนทาทับชั้นถัดไป และเมื่อรวมชั้นรองพื้นจะเป็นทั้งหมด 4 รอบ ซึ่งการทาทับหน้านั้นให้ทาแบบไขว้กัน (ล่างขึ้นบน และซ้ายไปขวา) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะ - ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมในบริเวณต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อให้วัสดุกันซึมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดูสวยงามในเวลาเดียวกัน
รวมสาเหตุของหลังคารั่วซึมที่พบได้บ่อย
ปัญหาหลังคารั่วซึมนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อย่างเช่น รอยร้าว หรือรูรั่วตามจุดต่างๆ เป็นต้น โดยสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึมที่พบได้บ่อย มีดังนี้
รอยรั่วตามแนวตะปู
รอยรั่วตามแนวตะปู หรือรอยรั่วตามอุปกรณ์ที่ยึดหลังคา เป็นสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึม โดยเกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือผุเป็นสนิมของอุปกรณ์ยึดกระเบื้อง จึงทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถยึดติดกับกระเบื้องไว้แน่นดังเดิม และทำให้กระเบื้องมีรูช่องว่าง ส่งผลให้แสงแดดส่องผ่าน หรือน้ำไหลซึมลงไปตามรูช่องว่างได้ ซึ่งสามารถซ่อมหลังคารั่วจากสาเหตุนี้ได้ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ยึดใหม่ หรือซ่อมด้วยการใช้ ผลิตภัณฑ์อุดโป๊ว เช่น ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์
รอยรั่วจากส่วนที่ต่อเติม
รอยรั่วจากส่วนที่ต่อเติม เกิดจากการต่อเติมที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีช่องว่างระหว่างหลังคาที่ต่อเติมกับตัวบ้าน จึงทำให้มีน้ำรั่วซึมเข้ามาในช่องว่างบริเวณรอยต่อได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้สเปรย์อุดรอยร้าว หรือโฟมอุดรอยร้าวอย่าง ทีโอเอ พียูโฟม สเปรย์ ที่มีคุณสมบัติในการปิดช่องว่างของการต่อเติมเดิมได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าปิดได้ทุกโพรง ปิดได้ทุกรู หมดปัญหารั่วซึม ด้วยกระป๋องเดียว
รอยรั่วจากการแตกหรือร้าว
รอยรั่วจากการแตกหรือร้าว เป็นสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึมที่สามารถพบได้บ่อยมาก โดยเกิดจากการแตกหรือร้าวของกระเบื้อง ซึ่งอาจเกิดจากการเจาะกระเบื้องผิดวิธี วัตถุที่มีความแข็งตกใส่ หรือได้รับแรงกระแทก นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการมุงกระเบื้องผิดวิธี เช่น มุงไม่สลับแนวกระเบื้อง จึงทำให้เกิดรอยแตกหรือร้าว และส่งผลให้แสงแดดสามารถส่องผ่าน หรือน้ำสามารถไหลผ่านไปตามรอยรั่วได้ ซึ่งสามารถซ่อมหลังคารั่วจากสาเหตุนี้ด้วยการใช้แผ่นแปะหลังคารั่ว
รอยรั่วจากรอยต่อผนัง
รอยรั่วจากรอยต่อผนัง เกิดจากแนวรอยต่อของผนังที่เกิดการแตกร้าวจนกลายเป็นช่องว่าง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้ปูนไม่ได้มาตรฐาน ช่างไม่มีความชำนาญในการฉาบและผสมปูน หรือคานด้านบนกำแพงรับน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งสามารถซ่อมหลังคารั่วที่เกิดจากรอยต่อผนังด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยร้าว (เช่น ทีโอเอ 302 อะคริลิค ซีลแลนท์ หรือ ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์) เพื่อโป๊วรอยแตกร้าวไม่ให้น้ำสามารถรั่วซึมเข้ามาได้
รอยรั่วจากพื้นของดาดฟ้า
รอยรั่วจากพื้นของดาดฟ้า เป็นสาเหตุของปัญหาหลังคารั่วซึมที่สามารถพบได้บ่อยในบ้าน ตึก หรืออาคารที่มีชั้นดาดฟ้า โดยเกิดจากการแตกร้าวของพื้นดาดฟ้า เพราะใช้ปูนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ทากันซึมดาดฟ้า หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และอาจเกิดจากรอยต่อผนังกับพื้นดาดฟ้าแตกร้าว เพราะพื้นดาดฟ้ากับผนังนั้นก่อสร้างคนละเวลา จึงทำให้พื้นและผนังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวและดาดฟ้ารั่วซึม ซึ่งสามารถซ่อมรอยรั่วจากพื้นของดาดฟ้าด้วยการใช้กันซึมดาดฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมตามรอยแตกร้าวได้
ถ้าหากพบเจอกับปัญหาหลังคารั่วซึม ทุกคนไม่ควรละเลย หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะถ้าหากไม่รีบแก้ไข อาจพบเจอกับปัญหาต่างๆ ที่ตามมาได้ ดังนี้
- ฝ้าและเพดานในบริเวณที่มีการรั่วซึมเกิดเชื้อราจนเป็นคราบสีน้ำตาล
- ขอบผนังหรือปูนในบริเวณที่มีการรั่วซึม เกิดรอยแยกหรือแตกร้าว
- เฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการรั่วซึมได้รับความเสียหาย
- พื้นและผนังที่ได้รับความชื้น จะเกิดคราบเชื้อราหรือมีสิ่งสกปรกติดอยู่
- กระเบื้องที่มีการรั่วซึมหรือมีรอยร้าว เกิดการแตกจนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก้ผู้อยู่อาศัยได้
นอกจากนี้ ยังอาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น ทุกคนจึงควรรีบทำการซ่อมแซมหลังคารั่วให้เร็วที่สุด
วิธีป้องกันและรับมือกับปัญหาหลังคารั่วซึม
หลังจากทราบถึงสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึมแล้ว ทุกคนควรทราบถึงวิธีการป้องกัน เพื่อจะได้รับมือกับปัญหาหลังคาหรือดาดฟ้ารั่วซึมได้อย่างทันท่วงที โดยวิธีป้องกันที่ทุกคนสามารถทำได้ทันทีมีทั้งหมด ดังนี้
คอยสำรวจรอยรั่วของหลังคา
การสำรวจบริเวณหลังคาบ่อยๆ ถือว่าเป็นวิธีป้องกันปัญหาหลังคารั่วซึมที่ดีที่สุด โดยทำการตรวจดูที่บริเวณรอยต่อหลังคาส่วนต่อเติม สันครอบหลังคา แนวอุปกรณ์ยึดกระเบื้อง และรอยแตกร้าวบนกระเบื้อง เพื่อจะได้แก้ปัญหารอยแตกร้าวเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วที่สุด
รู้สาเหตุพร้อมลงมือแก้ไขทันที
เมื่อทุกคนทำการสำรวจรอยรั่ว และทราบถึงสาเหตุของรอยรั่วแล้ว ควรรีบทำการแก้ไขในทันที โดยเลือกวิธีแก้ไขให้เหมาะสมกับสาเหตุมากที่สุด เช่น รอยรั่วจากการแตกหรือร้าว ควรใช้ผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยร้าว เช่น ทีโอเอ 302 อะคริลิค ซีลแลนซ์ หรือ ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ จากนั้นทาทับด้วยผลิตภัณฑ์กันรั่วซึม เช่น กันซึมดาดฟ้าหลังคา เป็นต้น ถ้าหากเลือกวิธีแก้ไขได้ไม่ตรงจุดอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมหลังคารั่วที่มีมาตรฐาน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาหลังคารั่วซึม คือ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมหลังคารั่วที่มีมาตรฐาน โดยเลือกจากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ และผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพ ถ้าหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น อาจไม่สามารถซ่อมรอยรั่วได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งอาจทำให้เสียหายมากกว่าเดิม และแก้ไขรอยรั่วได้ยากมากขึ้น
ถ้าหากหลังคาบ้านของคุณเกิดการรั่วซึม ไม่ควรปล่อยละเลย และควรรีบซ่อมแซมหลังคารั่วทันที เพราะอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุต่างๆ ตามมาได้ โดยทุกคนสามารถแก้ปัญหาหลังคารั่วซึมด้วยการเลือกเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยร้าวและสีทากันรั่วซึม โดยจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับวัสดุ หรือพื้นผิวที่เกิดรอยรั่วซึม เพื่อให้การอุดรอยรั่วนั้นมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานมากที่สุด